Welcome To My Blog

1.จงอธิบายการทำงานของ Internet

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพรโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากยิ่งหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network)  กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง

หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่าหมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไมซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS: Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน

โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ  ดังนี้

1. โดเมนระดับบนสุด  จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่

 ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร

         2. โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทองค์กร

2.เมื่อนักศึกษาต้องการใช้ internet กับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร

การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้

    1 เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
2 เว็บบราวเซอร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language)  และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
3 หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์  สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
4 โมเด็ม  เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
5 บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท  โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ  3BB เป็นต้น

3.Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร

เครือข่ายในบ้าน หรือ Home Network ก็คือเครือข่ายที่เชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในบ้านเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง พรินเตอร์ ปาล์มหรือ พ็อคเก็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ตเป็นต้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้แทบจะกลายเป็นอุปกรณ์ภายในบ้านที่พบเห็นทั่วไปแล้ว สังเกตได้จากตามห้างสรรพสินค้าที่นำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาวางขายกันถ้วนหน้า จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในบ้านหลังหนึ่งก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว

วิธีการทำ

1.การใช้สายโทรศัพท์ภายในบ้านสร้างเครือข่าย

การใช้โครงข่ายสายโทรศัพท์ภายในบ้านที่จากเดิมเอาไว้ต่อสายโทรศัพท์เพียงอย่างเดียวก็เอามารับส่งข้อมูลเพิ่มเติม หลักการคือ การใช้สายโทรศัพท์ภายในบ้านแทนสายเคเบิล เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ ณ จุดต่างๆ ภายในบ้านให้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน เพียงแค่ซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วต่อสายเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ ก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยขณะที่เราใช้งานเครือข่ายอยู่ก็จะไม่ไปรบกวนการใช้โทรศัพท์ตามปกติ

ระบบเครือข่ายสายโทรศัพท์นี้ ถือเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานทั่วไปด้วยความเร็วของระบบเครือข่ายขนาด 10 เมกะบิตต่อวินาที ทำให้ประสิธิภาพพอที่จะใช้กับระบบเครือข่ายภายในบ้านได้เป็นอย่างดี

2. การใช้สายไฟฟ้าในบ้านสร้างเครือข่าย

หรือที่บางคนเรียกว่า AC Network Zalternating Current ที่หมายถึงกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน

คือการนำสายไฟฟ้าที่ใช้เสียบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมาใช้ในการรับส่งข้อมูลเพราะสายไฟฟ้าพวกนี้กระจายอยู่ตามจุดต่างๆทั่วบ้านอยู่แล้ว โดยมีวิธีดังนี้ การซื้ออุปกรณ์พิเศษที่เสียบเข้าปลั๊กโดยตรงโดยอุปกรณ์เหล่านี้ต้องมีช่องปลั๊กไฟให้เสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้เพื่อที่จะไม่ไปเบียดเบียนไฟเดิมที่มีอยู่ และมีสายที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของคุณโดยตรง

4.3G และ ADSL มีความแตกต่างกันอย่างไร

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้นลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 3G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น

ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscribers Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบใหม่ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เนต และเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความเร็วสูงโดยใช้คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา ถือเป็นเทคโนโลยีของโมเดมแบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดงธรรมดา ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่าผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย)
เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และความเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีความเร็วในการรับข้อมูล สูงกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลเสมอ เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุด 8 เม็กกะบิตต่อวินาที (Mbps) และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 640 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps.) ความเร็วอาจเริ่มตั้งแต่ 128/64, 256/128, 512/256 เป็นต้น โดยความเร็วแรกเป็นความเร็วขารับข้อมูล

เพราะฉะนั้นจะมีความเเตกต่างกันตรงที่ความเร็วในการส่งเเละรับข้อมูล โดยที่ระบบ 3G จะมีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพมากกว่า

5.IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร

5.1             IPv6 (Internet Protocol version 6)เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย IETF (The Internet Engineering Task Force) เพื่อให้สามารถมีไอพีแอดเดรส ได้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพ และความปลอดภัย ในการใช้งานที่มีมากขึ้น  ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลข

5.2               Cloud Computing Software Development

Cloud computing เป็นหลักการที่อธิบายถึงการที่ทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ (computational resources) อาทิ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล ข้อมูล และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ถูกนำมาเสนอให้แก่ผู้ใช้ในลักษณะของบริการ (services) บนอินเตอร์เนต ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ บริการต่างๆเหล่านี้ได้ทั้งทางโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่อง laptop หรือแม้แต่ จากเครื่องเล่นเกมส์ต่างๆ

5.3            WebRTC

เทคโนโลยีใหม่ Real-Time ผ่านบราวเซอร์ โดยไม่พึ่งโปรแกรมเสริม WebRTC ชื่อเต็มคือ Web Real-Time Communication เป็น javascript api ใหม่ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ โดย Google ได้นำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์มาเป็น OpenSource Project ของโครงการ WebRTC ไปแล้ว ซึ่งโครงการ WebRTC คือการสร้าง API มาตรฐานสำหรับการดึงไมโครโฟนและเว็บแคมของคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เว็บสามารถดึงภาพและเสียงจากเครื่องแล้วส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ตามเวลาจริง ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงานนอกจากทางนั้นทางโครงการยังทำงานร่วมกับผู้พัฒนาเบราว์เซอร์อย่าง Mozilla และ Opera ในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันทางโครงการก็เข้าร่วมกับ IETF และ W3C ในการกำหนดและพัฒนามาตรฐานของการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์อีกด้วยต่อจากนี้เทคโนโลยีบนเว็บแอพพลิเคชั่น จะมีความสามารถทัดเทียม กับแอพพลิเคชั่นบน Desktop ได้มากขึ้น และนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสร้างสรรค์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

จะส่งผลต่อธุรกิจคือจะทำให้ธุรกิจมีการขยายตัวในทุกด้านมากขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเทคโนโลยีใหม่เเละจะเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

ที่มาของเนื้อหา : http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=16

http://www.kmitl.ac.th/~kpteeraw/learning/home_net_2.pdf

https://sites.google.com/site/cs5404061636038/ipv4-ipv6/ipv6inthai

http://inetbangkok.in.th/?p=918


Leave a comment